Local Hero: 'อังคณา นักรบไพร' ผู้สืบสานงานผ้าทอขนแกะแห่งบ้านห้วยห้อม

 


ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ นางสาวอังคณา นักรบไพร (อายุ 25 ปี) เป็นผู้ที่ได้รับการเชิดชูเป็น  “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม”  ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ทายาท ผู้มีความมุ่งมั่นสืบสานงาน ผ้าทอขนแกะแห่งบ้านห้วยห้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพียงแห่งเดียวไม่ให้สูญหายไป

นางสาวอังคณา นักรบไพร เติบโตมาในชุมชนบ้านห้วยห้อม หมู่บ้านขนาดเล็กที่ตั้งอยู่หุบเขา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่หลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จเยี่ยมเยือนประชาชน จึงทรงมีพระราชดำริส่งเสริมให้ชาวบ้านทอผ้าขนแกะเป็นรายได้เสริม และเป็นแหล่งทอผ้าขนแกะ ซึ่งมีเพียงชุมชนบ้านห้วยห้อมเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงทำผ้าทอขนแกะอยู่ในปัจจุบัน โดยมีนางสาวอังคณาเป็นหนึ่งในลูกหลานปากะญอ ที่ยังคงมุ่งมั่นสืบสานงานหัตถกรรมแขนงนี้ด้วยความภาคภูมิใจจวบจนทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 16 ปีมาแล้ว

เอกลักษณ์ผ้าทอขนแกะ ฝีมือนางสาวอังคณา คือ ผ้าที่มีความนุ่ม ด้วยกรรมวิธีการผสมผสานเส้นใย 2 ชนิดคือ เส้นใยฝ้ายที่ปลูกเองในท้องถิ่นที่นิยมใช้เส้นใยฝ้ายขนาด 20/2 ที่มีความเล็กละเอียด และเส้นใยขนแกะสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีความหนานุ่มกว่าขนแกะสายพันธุ์อื่น ๆมีความพิเศษที่สามารถนำขนมาใช้ได้ในทุกส่วน เช่น ไหล่คอ ลำตัว และขา เป็นต้น ผสมผสานทั้งสองเส้นใยในอัตราส่วนที่เท่ากัน กรณีที่ต้องการทอผ้าขนแกะ 100% จะใช้เพียงเส้นใยขนแกะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ปัจจุบันผ้าทอขนแกะสามารถสร้างสรรค์เป็น ผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภทเพื่อให้สามารถใช้งานได้ อย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพัน คอ เสื้อ ถุงย่าม ผ้าพันศีรษะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น นอกจากนี้นางสาวอังคณามีการพัฒนาสีสันให้ เป็นสีธรรมชาติมากขึ้น จนกลายเป็นที่นิยมของกลุ่ม ลูกค้าที่ขอบสีธรรมชาติ โดยเฉพาะชาวต่างชาติ และด้วยความเป็นชาวปกาเกอญอคนรุ่นใหม่ นางสาวอังคณาจึงทำหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับ เมื่อมีแขกมา เยือนบ้านห้วยห้อมอยู่เสมอ พร้อมทั้งเผยแพร่ ภูมิปัญญาการทอผ้า และวิถีชีวิตให้แก่ผู้ที่สนใจ อยู่เสมอมิได้ขาด นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำ ตรวจสอบคุณภาพผลงานของคนในชุมชน เพื่อให้สร้าง ผลงานผ้าทอขนแกะให้มีคุณภาพที่ดีมากขึ้นด้วย

ที่มา: สวท.แม่สะเรียง