‘Guardian Angels’ จิตอาสาร่วมพิทักษ์ชุมชนในนิวยอร์ก

 


เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่ 'Guardian Angels' หรือ 'กลุ่มจิตอาสาร่วมพิทักษ์ชุมชน' ได้ลงพื้นที่เพื่อปกป้องประชากรนิวยอร์กจากภัยอันตรายหลากรูปแบบ พวกเขาได้เเสดงบทบาทอย่างเเข็งขันมากขึ้นตั้งแต่อาชญากรรมจากความเกลียดชังที่มุ่งเป้ามายังชุมชนคนเชื้อสายเอเชียในมหานครนิวยอร์กพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการระบาดของโควิด-19

‘Guardian Angels’ เป็นองค์กรจิตอาสาพิทักษ์ชุมชนที่มีพลเรือนกว่า 3,000 คนเป็นสมาชิกทั่วสหรัฐ

นาย เคอร์ติส ซิลวา ก่อตั้งองค์กรดังกล่าวในปลายปึคริสต์ทศวรรษที่ 70 ที่นครนิวยอร์ก เพื่อออกลาดตระเวนและดูแลความปลอยภัยให้กับประชากรตามละแวกต่างๆ โดยเฉพาะบนรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะในช่วงเวลานั้น นิวยอร์กมีอัตราการว่างงานสูงและมักจะมีคดีอาชญากรรม เช่น การปล้นและลักขโมยอยู่เป็นประจำ

หลังการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว เหตุคุกคามเพราะความเกลียดชังทางด้านเชื้อชาตินั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งบนรถไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณดังกล่าวจึงเป็นจุดหลักที่หัวหน้านำทีม Guardian Angels รุ่นแรก

อย่าง นายคริส คาร์บอเนล ให้ความสำคัญในการลงพื้นที่ เขาอธิบายว่า

“อาชกรรมด้านการเหยีดเชื้อชาติต่อเอเชียนอเมริกันเป็นสิ่งที่เขาพบเห็นบ่อยขึ้นในช่วงนี้ ผู้กระทำผิดที่เขาเจจอนั้นมักใช้วาจาด่าทอ ไล่ให้เหยื่อที่มีเชื้อสายเอเชียกลับประเทศของตนเองไป

ทั้งๆ ที่เหยื่อบางคนเกิดและโตที่สหรัฐและเป็นชาวอเมริกัน นอกจากนี้ ผู้กระทำผิดมักจะเพ่งเล็งคนที่มีร่างเล็กหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถตอบโต้กลับได้”

สำหรับยุทธศาสตร์การล่าตระเวน คริสและสมาชิกกลุ่ม Guaridan Angels จะเข้าไปพูดคุยตำรวจในละแวกที่ตนเองได้รับมอบหมายก่อน ซึ่งวันนี้ คือ ย่านฟลัชชิ่งในเขตควีนส์หรือ สำนักงานตำรวจเลขที่ 109

Guardian Angels เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ให้ความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ และจะหมั่นแลกเปลี่ยนข้อมูล พร้อมทั้งถามไถ่ความต้องหากตำรวจต้องการให้กลุ่มผู้พิทักษ์ช่วยเหลืออะไร

เมื่อคุยกับตำรวจเสร็จ Guardian Angels จะออกตรวจตราตามถนนเส้นต่างๆ ประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่ง

ขณะลาดตระเวน กลุ่ม Guardian Angels ก็จะติดป้ายประกาศตามเสาไฟ เชิญชวนให้คนในชุมชนเป็นหูตาให้กับคนในพื้นที่และร่วมปกป้องย่านของตนเองกับองค์กรผู้พิทักษ์ คริสบอกกับวีโอเอว่า

“ทีมของเขาต้องการคนที่สามารถพูดภาษาไทย หรือ ภาษาเวียดนามได้ เนื่องจากเหตุคุกคามคนเอเชียเพิ่มสูงขึ้น การที่เจ้าของภาษาสามารถสื่อสารกับคนในชุมชนได้นั้นจะทำให้ผู้คนสามารถเข้าใจและวางใจกันได้ง่ายขึ้น”

หลังจากตรวจตราถนนต่างๆเสร็จ Guardian Angels ก็จะลงไปตระเวนบริเวณรถไฟฟ้าใต้ดินและบนรถไฟอีกประมาณ 1 ชั่วโมง กลุ่มดังกล่าวจะลาดตระเวรประมาณ 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ความหวาดระแวงด้านความปลอดภัยทำให้ผู้หญิงชาวไทยรายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในนิวยอร์กกว่า 10 ปีตัดสินใจปรับวิธีการสัญจรโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน

“ก็ปกติคือจะพยามเหลีกเลี่ยง พยามจะไม่ขึ้นคนเดียว ช่วงนี้โชคดีที่ว่าเรา work from home ก็เลยไม่จำเป็นต้องออกบ้านเท่าไหร่ แต่ถ้าต้องออกจริงๆและถ้าจะออกไปไกลก็จะไปกับแฟน และก็พยามไม่ไปไหนคนเดียว พยามไม่ไปไหนตอนกลางคืน...แต่โดยรวมแล้วก็คือจะรู้สึกไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่”

แต่คนไทยอีกคนหนึ่งที่อยู่ในนครนิวยอร์กมาหลายปีเช่นเดียวกัน อย่าง ภูวนาท ประเทืองสุข อธิบายว่า เขารู้สึกระแวงว่าจะติดโควิด-19 จากการใช้บริการขนส่งมวลชนที่มีผู้โดยสารถึง 4 ล้านคนต่อวันมากกว่าที่จะถูกทำร้าย

“ก็ใช้ได้ แต่ทีนี้มันก็จะแบบโหลงๆบ้าง เข้าไปคนไม่ค่อยเยอะ อะไรอย่างงี้ แต่เวลาทีนี้ถ้าแบบ คนเอเชียไปก็อาจจะมีแบบ tense อ่ะ แบบว่า pressure นิดนึง...กลัวโควิดมากกว่า ถ้าพูดถึงนะ เพราะมันก็จะโล่งๆ เราก็พยามจะไม่จับ ไม่ยืนใกล้ๆกับกลุ่มคน พอเราไม่ยืนใกล้ๆกับกลุ่มคน บางทีคนก็อาจจะมอง น่าจะเป็นแบบนั้นมากกว่า เหมือนกับรังเกียจ”

รายงานขององค์กร STOP AAPI Hate ระบุว่า การแสดงความรังเกียจนั้นเป็นหนึ่งในสามลักษณะใหญ่ของการคุกคามด้านเชื้อชาติ เพราะเหตุนี้นี่เอง ผู้พิทักษ์หน้าใหม่อย่าง โฮเซ่ มาดีน่าจึงตัดสินเข้าร่วมกลุ่ม Guardian Angels เขาให้เหตุผลกับวีโอเอว่า

“ความเกลียดชังด้านเชื้อชาติต่อคนเอเชียและความเกลียดชังต่อคนรอบข้างที่คนบางส่วนมีนั้นไม่สามารถหยุดยั้งได้ง่าย เขาจึงตัดสินใจที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับมันและรู้สึกภูมิใจที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับ Guardian Angels ได้”

สำหรับใครที่ยังต้องโดยสารรถใต้ไฟฟ้าดินอยู่ ผู้พิทักษ์ชุมชนอีกหนึ่งคนซึ่งทำหน้าปกป้องนครนิวยอร์กมากว่า 30 ปี อย่าง ซัลวาดอร์ ราแนรี่ แนะนำว่า

"สิ่งแรกที่ทุกคนควรทำเพื่อป้องกันตนเองจากอาชญากรรมหลากรูปแบบ คือ การมีสติ อย่ามัวแต่เล่นโทรศัพท์มือถือจนไม่สังเกตถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ควรจะมองคนที่คอยมองเราอยู่เสมอว่าคนคนนั้นทำอะไรอยู่"


ที่มา: VOA (23/4/2021)